กรุณาระบุคำค้นหาที่ท่านต้องการ

โครงการพัฒนานวัตกรรม และเครือข่ายธรรมาภิบาล เพื่อประเทศไทยใสสะอาด
โครงการ
05 กันยายน 2565
ผู้เข้าชม 513 คน
Post Content Image
​หลักการและเหตุผล

        ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 โดยสัดส่วนของผู้สูงอายุเป็นร้อยละ 10 ของประชากรประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยทำงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ (อายุ25-35 ปี) คิดเป็นสัดส่วน 7:1 จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เป็นถึงช่องว่างระหว่างวัยของประเทศไทยการสื่อสารในแต่ละช่วงวัยถือเป็นหัวใจสำคัญให้การส่งผ่านเนื้อหาสาระในการปลูกจิตสำนึก โดยจำเป็นต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติ และเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละช่วงวัย เพื่อก่อให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตรงเป้ าหมาย และตอบโจทย์ในการปลูกจิตสำนึก ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีของไทย

        ในการนี้ คณะกรรมการฯ จึงได้จัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนากรอบแนวคิดและแนวทางการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการปลูกจิตสำนึกให้ประเทศไทยใสสะอาด เพื่อเป็นการบูรณาการเนื้อหาสาระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผ่านไปยังช่วงวัยต่าง ๆ ด้วยวิธีการและท่วงทำนองที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดการส่งต่อค่านิยมจากรุ่นสู่รุ่น และนำประเทศไทยไปสู่ “เมืองไทยใสสะอาด” ของทุกคน

จุดประสงค์
  1. พิจารณาหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการการปลูกจิตสำนึกค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีของไทย
  2. สร้างความร่วมมือกับ ผู้ผลิตเนื้อหา และผู้ดูแลเครือข่ายความร่วมมือ
  3. ทดสอบการจัดกิจกรรม และเนื้อหาที่เหมาะสม ผ่านเครือข่ายความมือที่สร้างขึ้น
กิจกรรม
  1. กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์
  2. สร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนเกี่ยงข้องในระยะเริ่มต้น (ม.ค.- ธ.ค.64)
  3. ทดสอบการดำเนินการกิจกรรมตามแนวทางในระยะเริ่มต้น(ม.ค.-ธ.ค.64)
  4. ทดสอบการจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมาย
  1. Gen - Babyboom (อายุ 55 ปีขึ้นไป)
  2. Gen - X (อายุ 40 - 55 ปี)
  3. Gen - Y (อายุ 25 - 40 ปี)
  4. Gen - Z และ Alpha (อายุ 25 ปีลงมา)
วิธีการดำเนินการ
  1. การประชุมหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกัน
  2. การลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of understanding : MOU) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. สนับสนุนงบประมาณและความช่วยเหลือในการผลักดันกิจกรรม
  4. เผยแพร่เนื้อหาและลิงก์กิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
เครือข่ายเป้าหมาย
  1. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  2. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  3. โครงการภาษาอาเซียนออนไลน์
  4. โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน 250 แห่ง
  5. โครงการ Internet For Better Life (IFBL) / e-Commerce 4 ภาค
  6. ศูนย์คุณธรรม Moral Center Thailand
ความเสี่ยงและปัจจัยความสำเร็จ
  1. การบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผน เนื่องมาจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือกับกรรมการและทำงานในรูปแบบอาสาสมัคร จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงหรือจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนของหน่วยงาน
  2. แนวทางการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์มีความหลากหลายในช่วงอายุ ทำให้มีความยากในการจัดการในเชิงประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการรับฟั งความเห็นจากแต่ละช่วงวัย ผู้เชี่ยวชาญเชิงจิตวิทยา สังคม และการประเมินผลเพื่อปรับแนวทางให้เกิดประสิทธิภาพ
  3. การสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมูลนิธิเมืองไทยใจสะอาด จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการดำเนินการของมูลนิธิในระยะยาว เช่น บุคลากร ช่องทางการสื่อสาร และงบประมาณ​
โครงการ ที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว

การตั้งค่าคุกกี้